หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

biomechanics of running

ท่าวิ่งที่ถูกต้อง

จากการหาข้อมูลมานานกว่า 3 ปี และได้ทดลองการวิ่งแบบต่างๆ ทั้ง chi running, pose running มีข้อสงสัยมากมายว่าท่าวิ่งของนักกีฬา elite ทำไมถึงต่างกับท่าวิ่งของนักวิ่งสมัครเล่น ในหลายจุด เช่น hamstring ไม่ยืดออกจนสุด จนกระทั่งมาเจอหนังสือ science of running ของ steve magness อดีตนักวิ่งที่ได้ผันตัวมาเป็นโค้ช ได้รับการถ่ายทอดเรื่องท่าวิ่งจาก Tom Tellez ผู้ซึ่งเป็นโค้ชให้กับ คาร์ล ลูอิส นักวิ่งระดับโลก ส่วน steve magness เป็นโค้ชให้กับนักวิ่งมาราธอนมาแล้วหลายคน Sara Hall, Kara Goucher



อันนี้ค่อนข้างเข้าใจยากนิดนึง แต่ถ้าวิ่งมาพอสมควรจะนึกภาพออก

เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจ  จะเริ่มจากทันทีที่เท้าลงถึงพื้น โดยขอบของเท้าด้านนอกจะสัมผัสพื้นก่อนแล้วตามมาด้วยฝ่าเท้า หากลงแบบนี้จะเป็น midfoot ซึ่งตัว steve อธิบายว่าไม่ควรจะลงส้นเท้าแม้กระทั่งตอนที่เราวิ่งช้า เพราะการลงส้นเท้าทำให้เกิดแรงเบรค ลดแรงสปริง และเสียเวลาที่เท้าแช่ที่พื้นนานเกินไป การที่ลงปลายเท้าหรือกลางเท้าจะลดแรงเบรค รวมไปถึงแรงกระแทกอีกด้วย 
นอกจากนั้นข้อเท้าที่ลงจะลงมาตรงๆ เพื่อให้เกิดแรงสปริงสูงสุดที่น่องและเอ็นร้อยหวาย  เมื่อทันทีที่เท้าแตะพื้นสิ่งที่สำคัญคือให้เท้าโหลดแรงทั้งหมด ไม่ควรพยายามให้เท้ารีบออกไปจากพื้น เพราะทันทีที่เท้าแตะพื้นแรงจะถูกส่งไปที่พื้น รอจนกระทั่งเท้ารับน้ำหนักตัวเราทั้งหมด 

หลังจากโหลดเสร็จแล้ว การเคลื่อนที่ไปข้างหน้าจะเกิดขึ้น เมื่อเท้าเริ่มออกจากพื้น ให้คิดว่าเท้าทั้งเท้าเป็นก้อนเดียวกันทั้งหมด แล้วดันออก โดยแรงที่ออกต้องมาจากสะโพกเท่านั้น เพื่อให้เกิดแรงส่งที่ดียิ่งขึ้น ไม่ควรออกแรงขยี้ที่หัวแม่โป้งเพื่อเพิ่มแรงส่ง เพราะเสียแรงเปล่า  เมื่อสะโพกเหยียดสุดแล้ว ปล่อยเท้าอิสระ

ในกระบวนการทั้งหมดนี้ น่องและเอ็นร้อยหวายจะทำหน้าที่หดและยืดออก ช่วงนี้จะเปรียบเหมือนสปริงที่โหลดแรงเก็บไว้ตอนเท้าสัมผัสพื้น และปล่อยออก หลังจากเท้าออกจากพื้น  ข้อผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นตอนนี้ สำหรับพวกนักวิ่งปลายเท้า หากลงปลายเท้าแล้วไม่ยอมให้ส้นเท้าแตะพื้น จะทำให้เอ็นร้อยหวายและน่องยืดออกไปไม่สุด และอีกกรณีก็คือพยายามรีบเอาเท้าออกจากพื้นเร็วเกินไปทำให้เท้าและเอ็นร้อยหวายยังโหลดแรงไม่เสร็จ

ก่อนจังหวะเท้าหลุดออกจากพื้นพยายามคิดไปให้ไกลที่สุด ต้องหาสมดุลเอาเอง ถ้าคิดจะพุ่งไปข้างบนก็จะไปไม่ไกล ถ้าคิดจะไปข้างหน้าอย่างเดียวก็จะไปไม่ไกลเหมือนกัน ให้ลองคิดถึงเรื่องเวลายิงปืนใหญ่ โปรเจคไทล์แบบไหนที่ไกลที่สุด 

เมื่อสะโพกยืดไปสุดแล้ว จะเข้าสู่ช่วง recovery phase (ช่วงพัก) สะโพกเมื่อยืดไปสุดแล้วจะเด้งกลับมาเอง ไม่ต้องพยายามออกแรงช่วย เพราะถ้าออกแรงจะยิ่งช้าลง ขาจะยกขึ้นมาเองและจะพับมาใกล้กับก้นมากแค่ไหน ขึ้นอยู่กับความเร็วที่เราวิ่ง และจะผ่านสะโพกไปเหมือนเข่าพุ่งนำไปข้างหน้า เมื่อเข่าพุ่งผ่านไปแล้ว ขาด้านล่าง (ตั้งแต่เข่าลงมา)จะคลายออกแล้ว เป็นหน้าที่ของเราที่จะให้มันลงใกล้ตัวเรามากที่สุด และอยู่ใต้เข่าพอดี

โดยทั่วไปคนจะทำผิดสองจุดคือ พยายามยกเข่าขึ้นในจังหวะสิ้นสุดของ recovery phase กับ พยายามยกเท้าขึ้นเพื่อพยายามเตะก้นในช่วงแรกของ recovery phase การทำ 2 อย่างนี้เป็นการเปลืองพลังงานเปล่า และยังทำให้ recovery phase ทั้งหมด ช้าลงอีกด้วย

เมื่อเข่าของเรามาถึงจุดที่ เราจะเอาขาช่วงล่างลงนั้น ตำแหน่งที่เท้าจะลงดีที่สุดคือ 90 องศา ไม่ควรยืดไปข้างหน้าจะทำให้เกิดการเบรค และไม่ควรยื่นไปพอจะถึงพื้นแล้วดึงกลับ หรือเรียกว่า pawback การทำแบบนี้เสียแรงเปล่า

ส่วนของแขนให้สัมพันธ์กับขา ใช้ไหล่เป็นจุดหมุน ไม่ควรให้ไหล่บิด ให้คิดว่าเป็นเหมือนลูกตุ้มเพนดูลัม ไม่แกว่งออกหรือแกว่งเข้าข้ามเกินครึ่งหนึ่งของลำตัว กำมือหลวมๆ จังหวะดึงแขนไปข้างหลังต้องดึงให้ผ่านสะโพกไม่ว่าจะวิ่งช้าหรือเร็ว เมื่อวิ่งเร็วขึ้นแขนจะยกสูงขึ้นและสวิงไปข้างหลังมากขึ้นเอง

หลักการวิ่งจะเหมือนกับ natural running ของ Dr.Mark Cucuzzella ลองดูใน youtube ได้ครับ
https://www.youtube.com/watch?v=zSIDRHUWlVo

อันนี้คือดึงส่วนสำคัญมานะครับ
ข้อมูลจากหนังสือ science of running by Steve Magness



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น