หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

biomechanics of running

ท่าวิ่งที่ถูกต้อง

จากการหาข้อมูลมานานกว่า 3 ปี และได้ทดลองการวิ่งแบบต่างๆ ทั้ง chi running, pose running มีข้อสงสัยมากมายว่าท่าวิ่งของนักกีฬา elite ทำไมถึงต่างกับท่าวิ่งของนักวิ่งสมัครเล่น ในหลายจุด เช่น hamstring ไม่ยืดออกจนสุด จนกระทั่งมาเจอหนังสือ science of running ของ steve magness อดีตนักวิ่งที่ได้ผันตัวมาเป็นโค้ช ได้รับการถ่ายทอดเรื่องท่าวิ่งจาก Tom Tellez ผู้ซึ่งเป็นโค้ชให้กับ คาร์ล ลูอิส นักวิ่งระดับโลก ส่วน steve magness เป็นโค้ชให้กับนักวิ่งมาราธอนมาแล้วหลายคน Sara Hall, Kara Goucher



อันนี้ค่อนข้างเข้าใจยากนิดนึง แต่ถ้าวิ่งมาพอสมควรจะนึกภาพออก

เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจ  จะเริ่มจากทันทีที่เท้าลงถึงพื้น โดยขอบของเท้าด้านนอกจะสัมผัสพื้นก่อนแล้วตามมาด้วยฝ่าเท้า หากลงแบบนี้จะเป็น midfoot ซึ่งตัว steve อธิบายว่าไม่ควรจะลงส้นเท้าแม้กระทั่งตอนที่เราวิ่งช้า เพราะการลงส้นเท้าทำให้เกิดแรงเบรค ลดแรงสปริง และเสียเวลาที่เท้าแช่ที่พื้นนานเกินไป การที่ลงปลายเท้าหรือกลางเท้าจะลดแรงเบรค รวมไปถึงแรงกระแทกอีกด้วย 
นอกจากนั้นข้อเท้าที่ลงจะลงมาตรงๆ เพื่อให้เกิดแรงสปริงสูงสุดที่น่องและเอ็นร้อยหวาย  เมื่อทันทีที่เท้าแตะพื้นสิ่งที่สำคัญคือให้เท้าโหลดแรงทั้งหมด ไม่ควรพยายามให้เท้ารีบออกไปจากพื้น เพราะทันทีที่เท้าแตะพื้นแรงจะถูกส่งไปที่พื้น รอจนกระทั่งเท้ารับน้ำหนักตัวเราทั้งหมด 

หลังจากโหลดเสร็จแล้ว การเคลื่อนที่ไปข้างหน้าจะเกิดขึ้น เมื่อเท้าเริ่มออกจากพื้น ให้คิดว่าเท้าทั้งเท้าเป็นก้อนเดียวกันทั้งหมด แล้วดันออก โดยแรงที่ออกต้องมาจากสะโพกเท่านั้น เพื่อให้เกิดแรงส่งที่ดียิ่งขึ้น ไม่ควรออกแรงขยี้ที่หัวแม่โป้งเพื่อเพิ่มแรงส่ง เพราะเสียแรงเปล่า  เมื่อสะโพกเหยียดสุดแล้ว ปล่อยเท้าอิสระ

ในกระบวนการทั้งหมดนี้ น่องและเอ็นร้อยหวายจะทำหน้าที่หดและยืดออก ช่วงนี้จะเปรียบเหมือนสปริงที่โหลดแรงเก็บไว้ตอนเท้าสัมผัสพื้น และปล่อยออก หลังจากเท้าออกจากพื้น  ข้อผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นตอนนี้ สำหรับพวกนักวิ่งปลายเท้า หากลงปลายเท้าแล้วไม่ยอมให้ส้นเท้าแตะพื้น จะทำให้เอ็นร้อยหวายและน่องยืดออกไปไม่สุด และอีกกรณีก็คือพยายามรีบเอาเท้าออกจากพื้นเร็วเกินไปทำให้เท้าและเอ็นร้อยหวายยังโหลดแรงไม่เสร็จ

ก่อนจังหวะเท้าหลุดออกจากพื้นพยายามคิดไปให้ไกลที่สุด ต้องหาสมดุลเอาเอง ถ้าคิดจะพุ่งไปข้างบนก็จะไปไม่ไกล ถ้าคิดจะไปข้างหน้าอย่างเดียวก็จะไปไม่ไกลเหมือนกัน ให้ลองคิดถึงเรื่องเวลายิงปืนใหญ่ โปรเจคไทล์แบบไหนที่ไกลที่สุด 

เมื่อสะโพกยืดไปสุดแล้ว จะเข้าสู่ช่วง recovery phase (ช่วงพัก) สะโพกเมื่อยืดไปสุดแล้วจะเด้งกลับมาเอง ไม่ต้องพยายามออกแรงช่วย เพราะถ้าออกแรงจะยิ่งช้าลง ขาจะยกขึ้นมาเองและจะพับมาใกล้กับก้นมากแค่ไหน ขึ้นอยู่กับความเร็วที่เราวิ่ง และจะผ่านสะโพกไปเหมือนเข่าพุ่งนำไปข้างหน้า เมื่อเข่าพุ่งผ่านไปแล้ว ขาด้านล่าง (ตั้งแต่เข่าลงมา)จะคลายออกแล้ว เป็นหน้าที่ของเราที่จะให้มันลงใกล้ตัวเรามากที่สุด และอยู่ใต้เข่าพอดี

โดยทั่วไปคนจะทำผิดสองจุดคือ พยายามยกเข่าขึ้นในจังหวะสิ้นสุดของ recovery phase กับ พยายามยกเท้าขึ้นเพื่อพยายามเตะก้นในช่วงแรกของ recovery phase การทำ 2 อย่างนี้เป็นการเปลืองพลังงานเปล่า และยังทำให้ recovery phase ทั้งหมด ช้าลงอีกด้วย

เมื่อเข่าของเรามาถึงจุดที่ เราจะเอาขาช่วงล่างลงนั้น ตำแหน่งที่เท้าจะลงดีที่สุดคือ 90 องศา ไม่ควรยืดไปข้างหน้าจะทำให้เกิดการเบรค และไม่ควรยื่นไปพอจะถึงพื้นแล้วดึงกลับ หรือเรียกว่า pawback การทำแบบนี้เสียแรงเปล่า

ส่วนของแขนให้สัมพันธ์กับขา ใช้ไหล่เป็นจุดหมุน ไม่ควรให้ไหล่บิด ให้คิดว่าเป็นเหมือนลูกตุ้มเพนดูลัม ไม่แกว่งออกหรือแกว่งเข้าข้ามเกินครึ่งหนึ่งของลำตัว กำมือหลวมๆ จังหวะดึงแขนไปข้างหลังต้องดึงให้ผ่านสะโพกไม่ว่าจะวิ่งช้าหรือเร็ว เมื่อวิ่งเร็วขึ้นแขนจะยกสูงขึ้นและสวิงไปข้างหลังมากขึ้นเอง

หลักการวิ่งจะเหมือนกับ natural running ของ Dr.Mark Cucuzzella ลองดูใน youtube ได้ครับ
https://www.youtube.com/watch?v=zSIDRHUWlVo

อันนี้คือดึงส่วนสำคัญมานะครับ
ข้อมูลจากหนังสือ science of running by Steve Magness



Review marathon the ultimate training guide by Hal Higdon



รีวิว marathon the ultimate training guide by Hal Higdon



Hal Higdon โค้ชมาราธอนชื่อดัง ที่เคยทำงานกับ runner's world
เขียนเกี่ยวกับความรู้และการฝึกซ้อมมาราธอน เล่มนี้มีตารางการฝึกของ half marathon 12 สัปดาห์ และ marathon 18 สัปดาห์มาให้ด้วย
ความรู้ครอบคลุมทุกอย่างเกี่ยวกับการวิ่ง ตั้งแต่เรื่องราวดั้งเดิมของนักวิ่งมาราธอนคนแรก การเริ่มต้นวิ่ง การกินอาหาร การฝึกซ้อม interval tempo การพักผ่อน การเตรียมตัวก่อนแข่ง และพักผ่อนหลังแข่ง การฝึกทางด้านจิตใจ คำเตือนข้อห้ามต่างๆสำหรับนักวิ่ง เรียกว่าเล่มเดียวมีครบ เล่มนี้เป็นหนังสือที่ขายดีที่สุดของ Hal Higdon เลยครับ



ความรู้สึกหลังอ่าน

อ่านแล้วรู้สึกว่าเหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นฝึกวิ่ง ข้อมูลที่ให้ค่อนข้างพื้นฐาน มีตารางวิ่งสำหรับ นักวิ่งเริ่มต้น ระดับกลาง ระดับสูง แต่แทบจะไม่ต่างกัน รายละเอียดไม่มีว่าควรจะวิ่งความเร็วระดับไหน มีแค่ระยะทางมาให้ กับ วันที่วิ่ง interval เขียนมา 8x400 (วิ่ง 400 เมตร 8 เที่ยว)
แต่ไม่บอกเวลาพักในแต่ละเที่ยว ถ้าอยากได้รายละเอียดมากกว่านี้ต้องเข้าไปใน website เสียเงินเพิ่มอีก วันที่จะวิ่ง easy ไม่มีบอก ต้องมาคิดเอาเอง ข้อมูลกว้างๆคือควรจะวิ่งให้ได้อย่างน้อย 20 miles หรือประมาณ 32 km ให้ได้ 2-3 ครั้ง ก่อนวิ่งมาราธอน ให้ความสำคัญกับการ taper ให้มาก การวิ่ง 32 km ครั้งสุดท้ายควรจะเป็นก่อนวันแข่งอย่างน้อย 3 อาทิตย์ อ่านของเล่มอื่นๆก็จะคล้ายกัน แต่บางเล่มให้รายละเอียดลึกกว่า เดี๋ยวผมจะทะยอยรีวิวครับ

คะแนน 7.5/10

วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

วิ่งลงส้นเท้าหรือปลายเท้า


การวิ่งลงส้นเท้า กลางเท้า หรือปลายเท้า เป็นที่ถกเถียงกันมานาน และเป็นเรื่องแรกๆที่ผมพยายามหาข้อมูลสมัยตอนหัดวิ่งแรกๆ เท่าที่จำได้จะเจอที่เขียนว่า วิ่งระยะสั้นลงปลายเท้า วิ่งระยะไกลลงส้นเท้า
แล้วทำไมผมวิ่งลงส้นเท้าถึงเจ็บเข่า เลยพยายามหาข้อมูลเพิ่มเติม

credit ภาพ denverfitnessjournal.com

โค้ช Jack Daniels อธิบายว่า การวิ่งระยะสั้น หรือระยะกลางนั้น นักวิ่งจะลงปลายเท้า แต่ถ้าเป็นระยะที่ไกลกว่านั้นเช่น มาราธอน การลงส้นเท้าหรือเต็มเท้าจะดีกว่า เนื่องจากการลงปลายเท้าจะทำให้กล้ามเนื้อน่องทำงานหนัก ที่สำคัญขอให้ก้าว 180 ก้าวต่อนาที (นับเท้าซ้ายและขวา) ลงเท้าให้เบา ให้จินตนาการเหมือนว่าใต้เท้าเราเป็นเปลือกไข่ อย่าให้หัวแม่เท้าเอียงออกไป เพราะจะทำให้เกิดการเจ็บที่หน้าแข้งได้

ส่วนโค้ช Steve Magness  แนะนำว่า ควรจะลงปลายเท้าหรือ เต็มเท้า ไม่ควรลงส้นเพราะจะเกิดการเบรค ทำให้วิ่งช้าลง แต่ที่สำคัญ เท้าควรจะอยู่ใต้เข่า และใกล้กับลำตัวมากที่สุด คือไม่ก้าวเท้ายื่นออกจากลำตัวมากเกินไป ที่เรียกว่า overstride

โดยปกติแล้วการวิ่ง cadence 180 หรือ 180 ก้าวต่อนาที จะไม่ค่อย overstride อยู่แล้ว
ความสำคัญที่สุดคือการไม่ก้าวเท้าออกไปไกลตัว มากกว่าการลงเท้าแบบไหน
credit ภาพ denverfitnessjournal.com



ส่วนตัวผมเองได้ลองฝึกทั้ง 2 แบบ แต่ถนัดลงเต็มเท้าหรือค่อนไปทางลงส้นเท้ามากกว่า และวิ่งโดยไม่บาดเจ็บต้องพักยาวเกิน 1 สัปดาห์ มามากกว่า 2 ปี สรุปการลงเท้านั้น ถ้าลงแบบที่เราไม่บาดเจ็บจะลงแบบไหนก็ได้ ที่สำคัญคือลงให้ใกล้กับลำตัวเรามากที่สุด

ข้อมูลบางส่วนจากหนังสือ Daniels' running Formula 3rd edition และ the science of running

เทคนิคการหายใจขณะวิ่ง

เทคนิคการหายใจขณะวิ่ง

เมื่อเวลาเราวิ่งเร็วขึ้น เราจะรู้สึกว่าเราหายใจแรงขึ้น เราจึงมักจะคิดว่าเป็นเพราะเราสูดอ๊อกซิเจนเข้าไปไม่พอ แต่ความจริงแล้วเราหายใจแรงขึ้นเพราะพยายามไล่คาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นมากจนเกินไปออกไปต่างหาก
การหายใจเข้าควรหายใจโดยใช้กระบังลมจะหายใจได้ลึกกว่า หรือบางคนอาจเรียกว่าหายใจด้วยท้อง
เมื่อหายใจเข้าท้องจะป่อง หายใจออกท้องจะยุบ

credit morguefile.com

โค้ช Jack Daniels หนึ่งในโค้ชนักกีฬาระดับโลก บอกว่าจังหวะการหายใจ ควรจะเป็น 2-2 ตามจังหวะการก้าวเท้า นักกีฬาระดับ elite (ระดับสุดยอด) ที่เขาคุมทั้งหมด 86% หายใจ จังหวะ 2-2 เว้นแต่การวิ่งรอบสุดท้ายของการแข่งขัน 5 กิโลเมตร หรือ 10 กิโลเมตร จะหายใจด้วยจังหวะ 2-1 หรือ 1-2 
โค้ช Jack Daniels ยังแนะนำว่าไม่ควรหายใจแบบ 3-3 แม้ว่าจะเป็น easy long run อาจใช้การหายใจแบบ 3-3 สักไม่กี่นาที แค่เช็คว่ามันยังเป็น easy run อยู่ แต่ควรใช้การหายใจแบบ 2-2 มากกว่า 

ส่วนการหายใจตอนวิ่งที่มักจะถามว่าหายใจทางปากหรือจมูก ตัวผมเองหายใจทางปาก แต่เอาเข้าจริงๆแล้ว จะเข้าทางไหนก็ขอให้หายใจทันกับการวิ่งพอครับ หายใจทางจมูกไม่พอ อาจจะต้องใช้ปากช่วย 
ยังไงก็ลองฝึกกันดูนะครับ 

ข้อมูลบางส่วนจากหนังสือ Daniels' Running Formula 3rd edition


วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Review racing weight

รีวิวหนังสือ racing weight by matt fitzgerald


matt ได้เขียนถึงน้ำหนักที่ควรจะเป็นน้ำหนักที่ดีสำหรับในการแข่งขัน โดยอิงถึง research และตัวอย่างนักกีฬาอีกหลายคน เช่น ถ้านักวิ่งน้ำหนักตัว 160 ปอนด์จะใช้พลังงานมากกว่านักวิ่งน้ำหนักตัว 150 ปอนด์ ถึง 6.5%  ถ้าเรายิ่ง lean (ไขมันน้อย) เราก็ยิ่งวิ่งได้เร็ว เพราะน้ำหนักตัวที่มาก ทำให้เราต้องออกแรงเพื่อสู้กับแรงโน้มถ่วงมากขึ้น โดยเฉพาะไขมันที่เกินจะเป็นฉนวนกันความร้อนที่ให้ร่างกายระบายความร้อนได้ช้า

elite runner ชาย โดยทั่วไปจะมีไขมันเฉลี่ยอยู่ที่ 7.3% หญิงจะอยู่ที่ 12.4% 

ปกติแล้ว ไขมันในร่างกายเรา 64% มาจากพันธุกรรม แต่อีก 36% มาจากการใช้ชีวิตของเรา

ในเล่มมีตารางคำนวณหาน้ำหนักที่เราคาดว่าจะเป็นน้ำหนักที่ดีที่สุดสำหรับแข่งขัน (ควรมีเครื่องชั่งน้ำหนักที่สามารถวัด body fat ด้วย) รวมไปถึง 6 วิธีที่จะทำให้เราทำน้ำหนักให้ได้ตามเป้า เน้นเรื่องกิน และออกกำลังกาย  มีประเภทอาหารและวิธีการทำ ท้ายเล่มมีตัวอย่างการกินของ elite หลายสาขา ทั้งนักวิ่ง นักจักรยาน นักไตรกีฬา และการทำ strength training แถมมาอีกนิดหน่อย


ความรู้สึกหลังอ่าน

เล่มนี้ให้ข้อมูล รายละเอียดหลายอย่างน่าสนใจดี เมื่อก่อนเคยคิดว่า การฝึกหนักจะทำให้น้ำหนักลง แล้วจะผอมไปเอง แต่ความจริงแล้วเราควรจะลดน้ำหนักตอนก่อนจะฝึก (ช่วง off peak) เพราะช่วงที่ฝึกหนัก หากเรากินน้อยเกินไป ร่างกายจะสูญเสียทั้งกล้ามเนื้อ และไขมัน รวมไปถึงการฟื้นฟูร่างกายก็ช้าลง ส่วนตัวอย่างการกินของ elite ดูไกลความเป็นจริงมาก เพราะ elite นั้นฝึกอย่างน้อย 2-3 ครั้งต่อวัน  ถ้ากินตามนั้นจริง คงจะอ้วนขึ้นมากกว่า พอให้ดูเป็นแนวทางได้ ส่วนความรู้เรื่องอาหารไม่มีอะไรใหม่เท่าไร หากโภชนาการดีอยู่แล้วก็ให้ยึดตามปกติที่กินอยู่ แต่ใครถ้าไม่รู้เรื่องการกินเลย ก็ถือว่าน่าสนใจครับ

คะแนน  8/10

วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Review lumo run

รีวิว lumo run อุปกรณ์ที่เป็นโค้ชส่วนตัว

สามารถใช้บอก cadence, bounce, brake, drop, rotation เป็น realtime (แต่ต้องพกโทรศัพท์ไปด้วย)
เลือกให้เตือนค่าใดค่าหนึ่งจาก 5 ค่านี้ เชื่อมต่อด้วย bluetooth สามารถตั้งให้เตือนทุก 0.5 km หรือ 1km
มือถือจะบอกเราว่า วิ่งความเร็ว pace เท่าไร และ cadence เราอยู่ที่เท่านี้นะ  สามารถใช้หูฟังร่วมได้ อันนี้ต้องซื้อเอาเอง หรือหากเราไม่อยากพกโทรศัพท์ เมื่อวิ่งเสร็จแล้วตัว lumo run จะบอกผล ทั้ง 5 ค่านี้ โดยจะแบ่งผลย่อยทุกๆ 5 นาที
ติดบริเวณด้านหลังของกางเกง เป็นคลิปหนีบแน่นมาก

แบตเตอรี่ใช้ได้ 20 ชั่วโมง ใช้ต่อชาร์จกับ USB สามารถ stand by ได้ 7 วัน



กรณีไม่พกโทรศัพท์เครื่องจะไม่สามารถจับ gps แต่ยังวัดผลได้ ซึ่งสามารถนำไปใช้กับลู่วิ่งไฟฟ้าได้ด้วย


ตัวอย่างผลรวมการวิ่งทั้งหมดใน 1 ครั้ง จะระบุทั้ง 5 ค่าให้เราเห็น แถบที่เป็นสีเหลืองคือต้องปรับปรุง แถบที่เป็นสีเขียวคือผ่านเกณฑ์ที่กำหนด เช่นเราไม่ควรจะเบรคขณะวิ่งเกิน 0.40 m/s ซึ่งผมทำได้ 0.30 m/s ถือว่าผ่าน


ผมกดเข้าไปดูรายละเอียดเรื่องการเบรคอีกที ผลย่อยที่แยกจากผลรวมเพื่อให้ดูว่าทุก 5 นาที เท้าเราเบรคอยู่ที่เท่าไร



กรณีที่เราอยากแก้ไขให้ดีขึ้น ก็ยังมีการสอนว่าจะแก้ไขอย่างไร หากกด show me จะมี clip vdo สาธิตให้ดูอีกด้วย

ข้อดี
  • บอกค่าที่เราอยากทราบ โดยตัวที่วัดมีระบบ 9 axis ซ่ึ่งวัดการเคลื่อนไหวได้แม่นยำ
  • สามารถแจ้งผลแบบ real time ทำให้เราสามารถแก้ไขท่าวิ่งได้
  • กันน้ำ กันเหงื่อ
  • ใช้ได้กับการวิ่งบนลู่วิ่งไฟฟ้า
ข้อเสีย
  • ใช้กับ iphone 5s ขึ้นไปเท่านั้น ไม่สามารถใช้กับโทรศัพท์ระบบปฏิบัติการแบบ android 
  • ไม่มีตัวแทนจำหน่ายในเมืองไทย ราคาขายอยู่ที่ 99 USD ซึ่งอาจจะต้องสั่งผ่านบริษัทชิปปิ้ง ทำให้ราคาสูงขึ้นไปอีก
ความคิดเห็นส่วนตัว คิดว่าคุ้มเพราะผมเองมีปัญหาเรื่องวิ่งแล้วตัวยังแกว่ง (rotation) และยังอยากดูเวลาวิ่งเราเคลื่อนที่ในแนวตั้งมากแค่ไหน ( bounce )  ซึ่งปกติควรจะประมาณ 5% ของความสูง 
ก็มารอลุ้นกันว่าในเมืองไทยจะมีบริษัทไหนนำเข้ามาขายเหมือน MilestonePod หรือเปล่า



วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Review Usain Bolt faster than lightning my story

รีวิว Usain Bolt faster than lightning my story


ชีวิตของนักวิ่งระยะสั้นที่ทั่วโลกรู้จักกันดี Usain Bolt เล่าชีวิตในวัยเด็ก ที่ต้องแข่งขันและ ข้ามรุ่นมาแข่งรุ่นใหญ่กว่าเสมอ เพราะในรุ่นเดียวกันไม่มีใครเทียบเคียงได้ นักวิ่งระยะ 200 เมตร ที่ต้องทะเลาะกับโค้ช เพื่อขอลองวิ่ง 100 เมตร ซึ่งผิดกฏของทุกทฤษฏี เนื่องจากเขาสูงเกินไป การแข่งขันของนักวิ่งคู่ปรับชาวอเมริกัน Tyson Gay และนักวิ่งรุ่นพี่รุ่นน้องชาติเดียวกัน ที่พร้อมจะขึ้นมาแทนที่เขา เทคนิคการทำ false start เพื่อชิงความได้เปรียบ และเรื่องราวชัยชนะนับไม่ถ้วนของเขา


ความรู้สึกหลังอ่าน

เล่มนี้ติดจะขี้โม้หน่อยๆ ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะนักวิ่งระดับโลกจะต้องมึความมั่นใจสูง มีเกร็ดความรู้เเสริมบ้าง เช่น ว่าทำไมนักวิ่งที่เก่งจะต้องอยู่ลู่กลางๆ ในระยะ 200 เมตรขึ้นไป ถ้าอยู่ลู่ที่ 1 จะมีแรงเหวี่ยงค่อนข้างมาก คนตัวสูงจะเสียเปรียบ ถ้าอยู่ในลู่ที่ 8 จะอยู่ในทางโค้งนานกว่าลู่อื่น ดังนั้นต้องทำเวลาให้ดีในรอบคัดเลือก เล่มนี้ถ้าเป็นนักวิ่งระยะไกลอ่านคงจะเฉยๆ ผมเองรู้สึกว่าอ่านได้เรื่อยๆ นะ  ชอบเรื่องที่ให้เด็กทุกคนออกมาวิ่ง  ประเทศที่มีประชากรแค่ 2.7 ล้านคน แต่มีนักกฺีฬาเหรียญทองโอลิมปิคมาก เพราะให้ครูคอยสังเกตว่าเด็กคนไหนมีแววทางกีฬา จะได้สนับสนุนทุนการศึกษา และพัฒนาได้
อยากให้ประเทศไทย ใส่ใจแบบนี้บ้าง ต่างประเทศนี่มีหลายคนเลยที่เด็กเองไม่รู้ว่ามีความสามารถ แต่ครูเป็นคนเห็นและส่งเสริมให้ไปต่อ

คะแนน 7.5/10

Review MO FARAH Twin Ambitions My Autobiography


รีวิว MO FARAH  Twin Ambitions My Autobiography




เรื่องราวเกี่ยวกับสองพี่น้องฝาแฝดชาวโซมาเลีย แน่นอนว่าต้องเน้นตัว Mo Farah เป็นหลัก ตั้งแต่เด็ก จนเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ที่สองพี่น้องต้องพลัดพรากจากกัน ตัว Mo เองได้มาอยู่ที่อังกฤษ ครูพละ Alan Watkinson เห็นแวว เลยพยายามชักชวนให้วิ่งแทนการเตะฟุตบอล หลังจากได้ประสบผลสำเร็จในการวิ่งในระดับโรงเรียน ก็ไต่ระดับขึ้น แต่ทุกครั้งเมื่อเจอกับนักวิ่งเคนยา  เขาไม่สามารถชนะได้ จนเขาเชื่อว่าเขาไม่มีวันวิ่งชนะนักวิ่งเคนย่า ผู้จัดการส่วนตัวเลยแนะนำให้เขาไปฝึกซ้อมที่เคนย่า เขาตัดสินใจไป แล้วได้เรียนรู้เกี่ยวกับการซ้อมที่นั้น เรื่องราวเกิดขึ้นมากมาย ชนะ แพ้ ความลังเลว่าตัวเองเหมาะกับระยะ 5K 10K หรือควรไปวิ่งมาราธอนกันแน่ การเปลี่ยนโค้ช ความพ่ายแพ้ในกิฬาโอลิมปิคที่ปักกิ่ง และการกลับมาชนะได้เหรียญทองในโอลิมปิคปี 2012 ที่ลอนดอน




ความรู้สึกหลังอ่าน

เป็นชีวประวัติที่แปลก น่าสนใจ อ่านได้สนุก ทุกอย่างที่ได้มาไม่มีคำว่าง่ายเลย ทั้งเรื่องราวความรัก การวิ่ง การพลัดพรากจากฝาแฝด หนังสืออ่านค่อนข้างง่าย เกร็ดความรู้เกี่ยวกับการต่อสัญญา sponsor การย้ายค่ายเบอร์เดิม จาก Adidas สู่ Nike  หากเทียบกับชีวประวัติของนักวิ่ง นักไตรกีฬาคนอื่น เรื่องนี้ถือว่าเกรด A 

คะแนน 10/10

วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Review MilestonePod

รีวิว MilestonePod

อุปกรณ์วิ่งติดรองเท้า หน้าตาเหมือน footpod ที่ใช้วัดความเร็ว เพราะตัวมันเองก็เหมือนกับ footpod ดีๆนี่เอง  เพียงแต่มีรายละเอียดข้อมูลที่เพิ่มขึ้นมา ในเรื่องของ
MilestonePod ส่วนหน้าและหลัง



  • ระยะทาง  distance
  • การเผาผลาญ calories
  • ความเร็วต่อระยะทาง  pace
  • ตำแหน่งการลงเท้า foot strike
  •  จำนวนก้าวต่อนาที  cadence
  • ระยะเวลาเท้าสัมผัสพื้น ground contact
  • ความแรงของการลงเท้า rate of impact
  • ระยะทางต่อหนึ่งก้าว stride length
  • องศาของการยกขา leg swing
  • การวิ่งครั้งนี้มีประสิทธิภาพมากแค่ไหน run efficiency

การตั้งค่าครั้งแรก ควรตั้งกับนาฬิกา gps หรือลู่วิ่งในสนามจริง โดยวิ่งไม่น้อยกว่า 6 นาที ตัว MilestonePod ก็จะบันทึกค่าไว้ และ จะหยุดบันทึกเมื่อมีการเคลื่อนไหวที่น้อยกว่า 140 ก้าวต่อนาที (cadence<140) ยาวเกิน 6 นาทีขึ้นไป

ผมสั่งซื้อมาจากอเมริกา แต่หลังจากนั้นไม่กี่สัปดาห์ ที่เมืองไทยก็มีตัวแทนนำเข้ามา ไม่ต้องไปเสียเวลารอคอย ราคาก็ไม่แตกต่างกับสั่งจากต่างประเทศ MilestonePod ราคา 1,350 บาท
หลังจากใช้มากว่า 750 km



ข้อดี
  • ค่อนข้างแม่นยำ ส่วนตัวจะเน้นดู ground contact, cadence, leg swing
  • ใช้บอกเวลาว่าถึงเวลาที่ควรเปลี่ยนรองเท้าใหม่ได้แล้ว
  • ใช้ถ่านกระดุม ไม่ต้องคอยชาร์จแบตเตอรี่บ่อยๆ อยู่ได้นานประมาณ 3 เดือนขึ้นไป
  • ราคาถูกกว่า footpod ทั่วไป ของเจ้าใหญ่ในตลาดที่ให้ผลการวัดน้อยกว่า
ข้อเสีย
  • ไม่สามารถดูผล real time ได้ ซึ่งต่างจากดูผล footpod ทั่วไปที่เชื่อมต่อข้อมูลกับนาฬิกาขณะวิ่ง ทำให้รู้ว่าตอนนี้วิ่งอยู่ที่ cadence เท่าไร
  • วิ่งน้อยกว่า 6 นาทีไม่สามารถบันทึกได้ ไม่เหมาะกับนักวิ่งระยะสั้น sprinter
  • เมื่อหยุดวิ่งแล้วเรายังเดินต่อ MilestonePod ยังบันทึกค่านั้นไปด้วย ไม่สามารถหยุดได้จากนาฬิกาเนื่องจาก MilestonePod เชื่อมต่อกับ Application ในมือถือเท่านั้น (ได้ทั้ง android และ ios) ผลรวมจะมีการคลาดเคลื่อนไปบ้าง
สรุปความเห็นส่วนตัว คุ้มที่จะซื้อ ด้วยความคุ้มค่าของราคากับสิ่งที่ได้มา MilestonePod แทบจะเป็นตัววัดค่าการวิ่งที่ถูกที่สุดในตลาดเลย หากเทียบกับสินค้ายี่ห้ออื่น 

การรีวิวครั้งนี้ ผมได้ซื้อมาใช้เอง ไม่ได้มาจากsponsor ของสินค้า ไม่มีอคติต่อสินค้าใดๆทั้งสิ้น